โครงการพิเศษ

โครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ของโรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนบำรุงรวิวรรรวิทยา เป็นโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดกรุงเทพมหานครที่จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนไว้ว่า "โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ครูได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ ดำรงชีวิตแบบพอเพียง รักความเป็นไทย ร่วมใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" และจากวิสัยทัศน์ดังกล่าว โรงเรียนได้นำมากำหนดอัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ "ทักษะดี วิถีพอเพียง" และเมื่อปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานโครงการสมเด็จ-
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและกรุงเทพมหานคร ให้เป็น 1 ใน 25 โรงเรียนในการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีใน
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ กิจกรรมการติดตามภาวะโภชนาการ กิจกรรมการ
จัดบริการอาหารกลางวัน กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน ซึ่งการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายที่กำหนด ต่อมาเมื่อปลายปีการศึกษา 2557 คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียน ได้ร่วมกันปรับปรุงการดำเนินโครงการฯ ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
อัตลักษณ์ ที่โรงเรียนกำหนดขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบโรงเรียนเพื่อวางแผนผังการใช้พื้นที่ในโรงเรียนให้มีความเหมาะสม และปรับการดำเนินงานสนับสนุนภารกิจตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็น 5 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
3. กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
4. กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน
5. กิจกรรมการเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย

โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เพื่อส่งเสริมให้นักเรีนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและทัศนคติที่ดีทางการเกษตร และนำผลผลิตที่ได้จากการทำการเกษตรมาเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบที่ใช้ในการจัดบริการอาหารของโรงเรียนและขยายสู่ครัวเรือนและชุมชุม

กิจกรรมสนับสนุน

1.1   เรียนรู้การปลูกและการเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อการเรียนรู้ ปลูกพืชเพาะงอก (ต้นอ่อนทานตะวันและต้นอ่อนผักบุ้ง) เพาะเห็ด เพาะถั่วงอก การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นต้น

1.2   เรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น การแปรรูปเห็ด (เห็ดสวรรค์) การแปรรูปปลา (ม้าฮ่อ) การแปรรูปต้นอ่อนทานตะวัน (ชุดยำต้นอ่อน) เป้นต้น

1.3   เรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ การปรับปรุงดินโดยใช้กากกาแฟ เป็นต้น

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะด้านสหกรณ์และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์ ได้แก่ ลักษณะนิสัยของการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้แก่เด็กนักเรียน

กิจกรรมสนับสนุน

2.1   การจัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์ในการเรียนรู้ตามหลักสูตร

2.2   จัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ภาคปฏิบัติ ได้แก่ กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ มีวิชาชีพติดตัวและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต

กิจกรรมสนับสนุน

3.1   การฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กในโรงเรียนโดยความร่วมมือของครูและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.2   การขยายผลความรู้ทางด้านอาชีพ สู่ผู้ปกครองและชุมชน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการอาหารเช้า อาหารกลางวันที่ได้คุณภาพทั้งคุณค่าทางโภชนาการ ความสะอาดและปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และจัดบริการอาหารเสริม (นม) ให้อย่างเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสีี่ยงในการประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกิดเกณฑ์ในนักเรียน และมีความพร้อมในการเรียนรู้

กิจกรรมสนับสนุน

4.1   จัดรายการอาหารเช้า อาหารกลางวันที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดและปลอดภัย โดยนำโปรแกรมแนะนำการจัดสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียน หรือ Thai school lunch โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และเนคเทค มาเป็นตัวช่วยในการจัดรายการอาหารเช้าและอาหารกลางวันให้ถูกตามหลักโภชนาการ

4.2   จัดบริการอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการ

4.3   จัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนทุกคน

4.4   จัดบริการอาหารเสริม (นม) ให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 จนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

4.5   จัดอาหารเสริมให้แก่เด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในกลุ่มน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เพื่อเสริมให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการที่เหมาะสม ได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อช่วยให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และสมรรถภาพทางกายที่ดี มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย มีสุขนิสัยที่ดี มีทักษะในการจัดดูและสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ และเพื่อให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม

กิจกรรมสนับสนุน

5.1   กิจกรรมติดตามภาวะโภชนาการ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

5.1.1  การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

5.1.2  ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน เทียบกับเกณฑ์ของกรมพลศึกษา

5.1.3  จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้แก่เด็กทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กปกติ เด็กอ้วน และเด็กผอม

5.2   กิจกรรมพัฒนาสุขนิสัย

5.2.1  จัดกิจกรรส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่เด็กนักเรียนในเรื่องการมีสุขนิสัยที่ดีตามสุขบัญญัติ

5.2.2  จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้แก่เด็กนักเรียน ผู้ปกครองในเรื่องเกษตรยั่งยืน โภชนการ และการออกกำลังกายการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ฯลฯ

5.3   กิจกรรมการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

5.3.1  จัดและดูแลสภาพแวดล้อมในการให้บริการอาหารให้สะอาดปลอด ถุกต้องตามหลักและมาตรฐานสุขาภิบาบอาหาร ทั้งในส่วนของสถานที่รับประทานอาหารและบริเวณทั่วไป สถานที่เตรียม ประกอบ และปรุงอาหาร วัสดุประกอบอาหาร น้ำและเครื่องด่ืม ภาชนะอุปกรณ์ การรวบรวมขยะและการระบายน้ำโสโครก อ้งน้ำและห้องส่้วงและผู้ปรุง ผุ้เสิร์ฟ

5.4   กิจกรรมการจัดบริการสุขภาพ

5.4.1  จัดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่นักเรียน โดยจัดให้มีครูทำหน้าที่ในการให้บริการที่ห้องพยาบาลเป็นประจำทุกวัน ทุกชั่วโมง เพื่อให้การช่วยเหลือ แก้ไข การเจ็บป่วยในเบื้องต้น ติดต่อประสานงานครูเวรประจำวันเพื่อส่งต่อในการรักษากรณีอุบัติเหตุ หรือประสานงานผู้ปกครองเพื่อรับนักเรียนกลับบ้านไปพักผ่อนหรือรับการรักษาในสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป

5.4.2  จัดบริการอนามัยในโรงเรียนให้แก่นักเรียน โดยครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจฟัน การตรวจสายตา การฉีดวัคซีน เป็นต้น

การจัดกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมของโรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา มีการจัดระบบการดำเนินการให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยที่กิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเป็นกิจกรรมตั้งต้นที่โรงเรียนใช้เป็นช่องทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร และสนับสนุนผลผลิตที่ได้รับจากการทำการเกษตรในโรงเรียนไปสู่กิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดีและเมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรที่มีปริมาณมากพอ ทางโรงเรียนได้นำผลผลิตทางเกษตรไปสู่กระบวนการเรียนรู้เรื่องสหกรณ์ในโรงเรียน โดยการทำธุรกิจทางการเกษตร มีการฝึกปฏิบัติการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตจากงานด้านการส่งเสริมอาชีพ และสินค้าแปรรูปทางการเกษตร ผ่านระบบสหกรณ์ร้านค้า

โรงเรียนมีการทำงานโดยใช้อุดมการณ์ร่วมเป็นปัจจัยสนับสนุนในการปฏิบัติงานทั้ง 5 กิจกรรม ที่เรียกร่วมกันว่า
"หกร่วม รวมใจ"  ได้แก่

1.  การ่วมคิด

คณะครู นักเรียนและบุคลากรทุกฝ่ายจะประชุมระดมพลังสมอง ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อวางแผนในการปฏิบัติงาน กำหนดแนวทางการปฏิบัติด้วยการกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ กำหนดวิธีการกำกับ ติดตาม การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน

2.  การร่วมตัดสินใจ

ในการดำเนินกิจกรรมนั้นบุคลากรทุกคนร่วมกันติดสินใจ ในการเลือกแนวทางในการดำเนินงานที่เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

3.  การร่วมปฏิบัติ

คณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ที่ได้รับมอบหมาย/แต่งตั้ง จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ เต็มกำลังความรู้ ความสามารถ เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้

4.  การร่วมรับผิดชอบ

ในการดำเนินกิจกรรมของคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนนั้น ถึงแม้จะปฏิบัติงานอย่างเต็มที่แล้ว ในบางภาระงานอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ทุกคนจะยึดถือหลักการร่วมรับผิดชอบ คือ รับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นของแต่ละกิจกรรมทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นจึงพยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อลดข้่อผิดพลาดให้มากที่สุด เช่นเดียวกัน

5.  การร่วมแก้ไข

คณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนยึดถือหลักการร่วมแก้ไข จะมีการนำข้อบกพร่องของแต่ละกิจกรรมมาร่วมแก้ไข เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมมีความยั่งยืนและต่อเนื่อง

6.  การร่วมชื่นชม

เมื่อโรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คณะครู นักเรียนตลอดจนผู้เกี่ียวข้องในแต่ละฝ่าย แต่ละด้าน แต่ละงาน ก็จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และทุกคนในโรงเรียนจะมีโอกาสได้ร่วมชื่นชมยินดีกับผลสำเร็จที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ส่งผลให้เกิดขวัญ กำลังใจที่ดีในการทำงาน มีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ พร้อมร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้ก้าวหน้าและยั่งยืน

นอกจากการใช้อุดมการณ์ร่วมเป็นปัจจัยสนับสนุนในการปฏิบัติงานแล้ว โรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณและปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานเกษตรพื้นที่ 1) สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานเขตดอนเมือง บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท สตาร์บัค คอฟฟี่ ประเทศไทย จำกัด บริษัท สตาร์บัค คอฟฟี่ ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง มีผลงานปรากฏเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้่งในประเทศและต่างประเทศ